วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่น





ร่มกระดาษสาไม่เลือนลางไปตามกาลเวลา


จากลำไผ่ไหวเอนส่งเสียงเอียดออดยามต้องลมแรงมาเป็นก้านร่ม และโครงร่ม กระดาษสาซื่งทำมาจากเปลือกไม้หุ้มต้น รวมกันเป็นร่มกระดาษสา ที่ซึ่งทอดเงากันแดดฝนมานานนับศตวรรษ ด้วยคุณค่าและเอกลักษณ์อันงดงาม ร่มกระดาษสาบ่อสร้างจึงเป็นมรดกแผ่นดินที่ชาวเชียงใหม่ทุกคนหวงแหนและภาคภูมิใจ

การทำร่มกระดาษสาบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง นี้มีกรรมวิธีผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน ที่สืบทอดกันมาจากความคิดค้นสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยาวนาน สืบทอดมีความเป็นมาและวิวัฒนาการจนมาเป็นร่มกระดาษสาที่เราได้เห็นในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของร่มกระดาษสานี้ ก็คือกรรมวิธีในการผลิตต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมืออย่างสูง อีกทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร


ลักษณะและวิธีการใช้

ครกกระเดื่องเป็นครกที่ใช้ประโยชน์ในการตำข้าว เปลือกเพื่อให้เป็นข้าวสารมารับประทาน เป็นเทคโนโลยีขั้น พื้นฐานอำนวยความสะดวกเพื่อดำรงชีวิต ครกกระเดื่องนอก จากจะใช้ตำข้าวแล้ว ยังใช้ตำแกลบหรือ เปลือกข้าวให้เป็นรำข้าวใช้เลี้ยงสัตว์ ตำแป้ง ขนมจีน ฯลฯ นับว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์และ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทั้งยังเป็นการออก กำลังกายให้แข็งแรง ประหยัดเงินทองไม่ต้องจ้าง โรงสีสีซ้อมข้าว พร้อมกันนั้นก็ยังได้ ปลายข้าว รำข้าว เป็นผลิตผลพลอยได้ตามมา

อย่างไรก็ตาม การตำข้าวโดยใช้แรงมนุษย์ ที่ต้องการข้าวซึ่งเป็นผลผลิตปริมาณมากและภาย ใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัดไม่อาจทำได้ จึง ได้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้านคิดค้นนำเครื่องจักร กล จากเครื่องยนต์สูบน้ำจากเครื่องยนต์รถไถ เดินตาม มาประกอบเข้ากับอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งเพื่อ หมุนวงล้อให้สัมผัสกับปุ่มยกแขนครกกระเดื่อง ให้ขึ้น - ลงแทนแรงคน

ครกกระเดื่องติดเครื่องจักรเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพตำข้าวเม่าขาย ในช่วงฤดูข้าวออก รวงใหม่ที่เรียกว่า "ข้าวตั้งท้อง" หรือ "ข้าวกำลังเม่า" ผู้ที่ประกอบอาชีพตำข้าวเม่า ขาย จะนำข้าวที่ตั้งท้องเป็นเม่ามาใส่ กะทะคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วใส่ครกตำ ให้เป็นเม็ดแบน เอาเปลือกออกแล้วนำไปขาย เป็นข้าวเม่าภายในช่วง เวลาที่ต้องจำหน่ายให้ผู้ บริโภคในวันหนึ่ง ๆ ให้หมด หากทิ้งข้ามวัน ข้าวเม่าจะไม่หอมไม่เหมาะแก่การบริโภค ครกกระเดื่อง ติดเครื่องจักร จึงเข้ามาแทนแรงงานคนได้ อย่างเหมาะสม
ประโยชน์


1. การลงทุนต่ำ ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร มีราคาไม่สูงนัก ประกอบด้วยครกกระเดื่องที่มี อยู่แล้ว1-2 ใบ ต่อแขนให้ยาวพอ ประมาณ ต่อกับอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นและตัวมอเตอร์ที่ ใช้กำลังจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล
ส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น
ห่วง ขนาด 18" 2 ตัว เพลาราง 2 ตัว ตุ๊กตาและลูกปืน 4 ตัว
เหล็กฉาบ 1 เส้น มู่เล่ 6" 1 ตัว เหล็กแผ่น 1 แผ่น
อุปกรณ์เหล่านี้นำมาเชื่อม-ประกอบต่อกับแกน มอเตอร์ จากเครื่องยนต์สูบน้ำ หรือเครื่องยนต์จากรถ ไถเดินตาม ก็สามารถขับเคลื่อนให้ครกกระเดื่องทำงาน ได้ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,400 บาท ( ไม่นับเครื่อง ยนต์สูบน้ำหรือรถไถเดิม ตามซึ่งมีอยู่แล้ว )
ประสิทธิภาพการใช้งานสูง

ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร สามารถทำงานได้ยาวนานหลาย ชั่วโมงต่อเนื่องกัน จากการศึกษาการทำงาน ระหว่าง 08.00-22.00 น. จะสิ้น เปลืองน้ำมันดีเซลเพียง 40 บาท
ได้ผลกำไรคุ้มค่า


จากการศึกษาจากเกษตรกรรายหนึ่งพบว่า เมื่อปลูก ข้าวได้ 90 วันใน ปริมาณ 3 ไร่ จะได้ข้าวเปลือก ประมาณ 60 หมื่น ( 1 หมื่น = 12 กิโลกรัม ) นำ ข้าวเปลือกครึ่งหนึ่ง ( 30 หมื่น ) มาตำเป็นข้าวเม่า ขายจะได้เงินประมาณ 8,000 บาท ส่วนข้าวที่เหลือ อีกครึ่งหนึ่งจะปล่อยให้เมล็ดแก่เพื่อเก็บไว้ รับประทาน จึงนับว่าเป็นรายได้ที่งดงาม ใน ปัจจุบันข้าวเม่าขายในท้องตลาดราคากิโลกรัมละ 100 บาท

การปลูกข้าวเพื่อขายเป็นข้าวเม่าจึงนับว่ามี รายได้สูงกว่าการปลูกข้าวขาย แต่ทั้งนี้ ผู้ผลิตต้องรู้จักการนำพันธ์ข้าวชนิดต่าง ๆ ที่มีอายุสั้น-ปานกลาง-ยาว มา ปลูกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าว เป็นระยะ ๆยาวนาน นำมาตำเป็นข้าวเม่าจำหน่าย แต่ สิ่งที่สำคัญคือ ครกตำข้าวซึ่งจะช่วยผ่อน แรงคนให้สามารถตำข้าวได้ตลอด เวลา ผู้ประกอบ ธุรกิจจะสามารถส่งข้าวเม่าสู่ตลาดจำหน่ายให้บริโภคได้ ต่อวัน

ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร จึงเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ สำคัญอย่างหนึ่งในสังคมการเกษตรกรในภาคอีสาน

ด้านสุขภาพอนามัย
การกวาดยา



การกวาดยา คือการเอายาป้ายในลำคอโดยใช้นิ้วมือ ซึ่งโดยปกติจะใช้นิ้วชี้ของมือขวาแต่สำหรับหมอโบราณที่รับรักษาโดยการ กวาดยาอาจใช้นิ้วอื่น ๆ รวม 4 นิ้ว กวาดยาได้ ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือเท่านั้น
สำหรับนิ้วที่ใช้กวาดยานั้น มีความเชื่อต่างกัน บ้างก็ว่าต้องเป็นนิ้วที่มีลายก้นหอย จึงจะใช้กวาดยาได้ บ้างก็ว่าต้องมีเส้นชีวิตยาว จรดโคนนิ้วจะเป็นหมอกวาดยาที่ฉมัง บ้างก็ว่านิ้วที่จะใช้กวาดยาได้ดีที่สุดต้องไปกวาดคอจระเข้ก่อน

วิธีใช้
ใช้กวาดคอเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ถึง 3 ขวบ โรคที่ใช้การรักษาด้วยการ กวาดยา คือ โรคซาง ซึ่งเด็กที่เป็นโรคนี้ จะมีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการทั่ว ๆ ไป ที่สังเกตเห็นได้ เช่น ไม่กินข้าว ปวดหัวและตัวร้อน หรือใช้การกวาดยาในกรณีที่เด็กมีอาการไอ มีเสมหะมาก
หมอจะใช้ยาเม็ดบดให้ละเอียดโดยใช้ครกบดยา ใส่มะนาว พิมเสน และเกลือเม็ดเป็นกระสายบดให้ละเอียดและเข้ากันดี ใช้นิ้วชี้ป้ายยาไว้ที่ปลายนิ้ว ผู้ปกครองจะอุ้มเด็กนอนหงายซึ่งเด็ก ๆ ไม่ชอบ ก็จะอ้าปากร้องไห้ หมอจะใช้จังหวะนี้จับกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างของเด็กไว้มิให้หุบปากได้ พร้อมทั้งเอานิ้วที่มียาแหย่เข้าปากและป้ายลงไปในลำคอโดยเร็ว เมื่อหมอกวาดยาเสร็จแล้วจะต้องทำใจให้เป็นสมาธิ กล่าวคาถาและ เป่ากระหม่อมให้เด็ก สำหรับคาถาต่างครูก็ว่าต่างกันไป แต่มีใจความสำคัญว่า "ขอให้โรคภัยของเด็ก ๆ หายไป"
การรักษาโดยวิธีกวาดยาถือว่าเป็นการรักษาที่ง่ายและลงทุนน้อย และด้วยความน่ารักของเด็ก ๆ หมอจึงไม่นิยมคิดเงิน ผู้ปกครองบางคนเกรงใจก็จะวางเงินไว้ให้ จนกลายเป็นกำหนดราคาค่ากวาดยาไปก็มี แต่ก็ถูกมาก ในปัจจุบันนี้นิยมวางเงินไว้ให้ 5 บาท
เวลากวาดยาจะกวาดเวลาใดก็ได้ แต่นิยมกันมากคือ กวาดยาในเวลาเย็น ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป และจะกวาดยาคนละ 1 ครั้ง ต่อวัน
ผลกระทบต่อชุมชน
ในสมัยก่อนที่การสาธารณสุขของเรายังไม่เจริญ หมอโบราณคือที่พึ่งของชาวบ้านได้อย่างดียิ่ง และแม้ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุข ของเราค่อนข้างเจริญ มีโรงพยาบาลทุกอำเภอ มีสถานีอนามัยทุกตำบลแล้วก็ตาม แต่จากกิตติศัพท์และการรักษาที่ได้ผล จึงทำให้ประชาชน ส่วนหนึ่งยังคงมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในวิธีการรักษาโดยการกวาดยา เด็กบางคนเมื่อรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันที่มีชื่อเสียงก็ไม่หายจาก อาการป่วย แต่กลับมาหายด้วยการกวาดยาเพียงครั้งเดียว ซึ่งคงจะตรงกับคำกล่าวที่ว่า "ลางเนื้อชอบลางยา" ก็เป็นได้ หมดโบราณคนนั้นคือ นายประมวล หาญพล อยู่บ้านเลขที่ 55 ถนนสายตราด-แหลมศอก ตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดตราด หรือที่รู้จักกันดีว่า "หมอเปีย" และหมอเปียคนนี้ ยังคงกวาดยาให้เด็ก ๆ ทุกวัน วันละประมาณ 20 คน เป็นประจำ

ผู้ให้ข้อมูล นายประมวล หาญพล และนายสมบูรณ์ ปานนิล
ผู้เก็บข้อมูล นางเพ็ญจันทร์ ประทุมวงษ์ และนายสุริยะ มีความดี

ไม่มีความคิดเห็น: