วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ร่มกระดาษสาไม่เลือนลางไปตามกาลเวลา
จากลำไผ่ไหวเอนส่งเสียงเอียดออดยามต้องลมแรงมาเป็นก้านร่ม และโครงร่ม กระดาษสาซื่งทำมาจากเปลือกไม้หุ้มต้น รวมกันเป็นร่มกระดาษสา ที่ซึ่งทอดเงากันแดดฝนมานานนับศตวรรษ ด้วยคุณค่าและเอกลักษณ์อันงดงาม ร่มกระดาษสาบ่อสร้างจึงเป็นมรดกแผ่นดินที่ชาวเชียงใหม่ทุกคนหวงแหนและภาคภูมิใจ
การทำร่มกระดาษสาบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง นี้มีกรรมวิธีผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน ที่สืบทอดกันมาจากความคิดค้นสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยาวนาน สืบทอดมีความเป็นมาและวิวัฒนาการจนมาเป็นร่มกระดาษสาที่เราได้เห็นในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของร่มกระดาษสานี้ ก็คือกรรมวิธีในการผลิตต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมืออย่างสูง อีกทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร
ลักษณะและวิธีการใช้
ครกกระเดื่องเป็นครกที่ใช้ประโยชน์ในการตำข้าว เปลือกเพื่อให้เป็นข้าวสารมารับประทาน เป็นเทคโนโลยีขั้น พื้นฐานอำนวยความสะดวกเพื่อดำรงชีวิต ครกกระเดื่องนอก จากจะใช้ตำข้าวแล้ว ยังใช้ตำแกลบหรือ เปลือกข้าวให้เป็นรำข้าวใช้เลี้ยงสัตว์ ตำแป้ง ขนมจีน ฯลฯ นับว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์และ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทั้งยังเป็นการออก กำลังกายให้แข็งแรง ประหยัดเงินทองไม่ต้องจ้าง โรงสีสีซ้อมข้าว พร้อมกันนั้นก็ยังได้ ปลายข้าว รำข้าว เป็นผลิตผลพลอยได้ตามมา
อย่างไรก็ตาม การตำข้าวโดยใช้แรงมนุษย์ ที่ต้องการข้าวซึ่งเป็นผลผลิตปริมาณมากและภาย ใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัดไม่อาจทำได้ จึง ได้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้านคิดค้นนำเครื่องจักร กล จากเครื่องยนต์สูบน้ำจากเครื่องยนต์รถไถ เดินตาม มาประกอบเข้ากับอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งเพื่อ หมุนวงล้อให้สัมผัสกับปุ่มยกแขนครกกระเดื่อง ให้ขึ้น - ลงแทนแรงคน
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักรเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพตำข้าวเม่าขาย ในช่วงฤดูข้าวออก รวงใหม่ที่เรียกว่า "ข้าวตั้งท้อง" หรือ "ข้าวกำลังเม่า" ผู้ที่ประกอบอาชีพตำข้าวเม่า ขาย จะนำข้าวที่ตั้งท้องเป็นเม่ามาใส่ กะทะคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วใส่ครกตำ ให้เป็นเม็ดแบน เอาเปลือกออกแล้วนำไปขาย เป็นข้าวเม่าภายในช่วง เวลาที่ต้องจำหน่ายให้ผู้ บริโภคในวันหนึ่ง ๆ ให้หมด หากทิ้งข้ามวัน ข้าวเม่าจะไม่หอมไม่เหมาะแก่การบริโภค ครกกระเดื่อง ติดเครื่องจักร จึงเข้ามาแทนแรงงานคนได้ อย่างเหมาะสม
ประโยชน์
1. การลงทุนต่ำ ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร มีราคาไม่สูงนัก ประกอบด้วยครกกระเดื่องที่มี อยู่แล้ว1-2 ใบ ต่อแขนให้ยาวพอ ประมาณ ต่อกับอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นและตัวมอเตอร์ที่ ใช้กำลังจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล
ส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น
ห่วง ขนาด 18" 2 ตัว เพลาราง 2 ตัว ตุ๊กตาและลูกปืน 4 ตัว
เหล็กฉาบ 1 เส้น มู่เล่ 6" 1 ตัว เหล็กแผ่น 1 แผ่น
อุปกรณ์เหล่านี้นำมาเชื่อม-ประกอบต่อกับแกน มอเตอร์ จากเครื่องยนต์สูบน้ำ หรือเครื่องยนต์จากรถ ไถเดินตาม ก็สามารถขับเคลื่อนให้ครกกระเดื่องทำงาน ได้ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,400 บาท ( ไม่นับเครื่อง ยนต์สูบน้ำหรือรถไถเดิม ตามซึ่งมีอยู่แล้ว )
ประสิทธิภาพการใช้งานสูง
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร สามารถทำงานได้ยาวนานหลาย ชั่วโมงต่อเนื่องกัน จากการศึกษาการทำงาน ระหว่าง 08.00-22.00 น. จะสิ้น เปลืองน้ำมันดีเซลเพียง 40 บาท
ได้ผลกำไรคุ้มค่า
จากการศึกษาจากเกษตรกรรายหนึ่งพบว่า เมื่อปลูก ข้าวได้ 90 วันใน ปริมาณ 3 ไร่ จะได้ข้าวเปลือก ประมาณ 60 หมื่น ( 1 หมื่น = 12 กิโลกรัม ) นำ ข้าวเปลือกครึ่งหนึ่ง ( 30 หมื่น ) มาตำเป็นข้าวเม่า ขายจะได้เงินประมาณ 8,000 บาท ส่วนข้าวที่เหลือ อีกครึ่งหนึ่งจะปล่อยให้เมล็ดแก่เพื่อเก็บไว้ รับประทาน จึงนับว่าเป็นรายได้ที่งดงาม ใน ปัจจุบันข้าวเม่าขายในท้องตลาดราคากิโลกรัมละ 100 บาท
การปลูกข้าวเพื่อขายเป็นข้าวเม่าจึงนับว่ามี รายได้สูงกว่าการปลูกข้าวขาย แต่ทั้งนี้ ผู้ผลิตต้องรู้จักการนำพันธ์ข้าวชนิดต่าง ๆ ที่มีอายุสั้น-ปานกลาง-ยาว มา ปลูกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าว เป็นระยะ ๆยาวนาน นำมาตำเป็นข้าวเม่าจำหน่าย แต่ สิ่งที่สำคัญคือ ครกตำข้าวซึ่งจะช่วยผ่อน แรงคนให้สามารถตำข้าวได้ตลอด เวลา ผู้ประกอบ ธุรกิจจะสามารถส่งข้าวเม่าสู่ตลาดจำหน่ายให้บริโภคได้ ต่อวัน
ครกกระเดื่องติดเครื่องจักร จึงเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ สำคัญอย่างหนึ่งในสังคมการเกษตรกรในภาคอีสาน
ด้านสุขภาพอนามัย
การกวาดยา
การกวาดยา คือการเอายาป้ายในลำคอโดยใช้นิ้วมือ ซึ่งโดยปกติจะใช้นิ้วชี้ของมือขวาแต่สำหรับหมอโบราณที่รับรักษาโดยการ กวาดยาอาจใช้นิ้วอื่น ๆ รวม 4 นิ้ว กวาดยาได้ ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือเท่านั้น
สำหรับนิ้วที่ใช้กวาดยานั้น มีความเชื่อต่างกัน บ้างก็ว่าต้องเป็นนิ้วที่มีลายก้นหอย จึงจะใช้กวาดยาได้ บ้างก็ว่าต้องมีเส้นชีวิตยาว จรดโคนนิ้วจะเป็นหมอกวาดยาที่ฉมัง บ้างก็ว่านิ้วที่จะใช้กวาดยาได้ดีที่สุดต้องไปกวาดคอจระเข้ก่อน
วิธีใช้
ใช้กวาดคอเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ถึง 3 ขวบ โรคที่ใช้การรักษาด้วยการ กวาดยา คือ โรคซาง ซึ่งเด็กที่เป็นโรคนี้ จะมีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการทั่ว ๆ ไป ที่สังเกตเห็นได้ เช่น ไม่กินข้าว ปวดหัวและตัวร้อน หรือใช้การกวาดยาในกรณีที่เด็กมีอาการไอ มีเสมหะมาก
หมอจะใช้ยาเม็ดบดให้ละเอียดโดยใช้ครกบดยา ใส่มะนาว พิมเสน และเกลือเม็ดเป็นกระสายบดให้ละเอียดและเข้ากันดี ใช้นิ้วชี้ป้ายยาไว้ที่ปลายนิ้ว ผู้ปกครองจะอุ้มเด็กนอนหงายซึ่งเด็ก ๆ ไม่ชอบ ก็จะอ้าปากร้องไห้ หมอจะใช้จังหวะนี้จับกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างของเด็กไว้มิให้หุบปากได้ พร้อมทั้งเอานิ้วที่มียาแหย่เข้าปากและป้ายลงไปในลำคอโดยเร็ว เมื่อหมอกวาดยาเสร็จแล้วจะต้องทำใจให้เป็นสมาธิ กล่าวคาถาและ เป่ากระหม่อมให้เด็ก สำหรับคาถาต่างครูก็ว่าต่างกันไป แต่มีใจความสำคัญว่า "ขอให้โรคภัยของเด็ก ๆ หายไป"
การรักษาโดยวิธีกวาดยาถือว่าเป็นการรักษาที่ง่ายและลงทุนน้อย และด้วยความน่ารักของเด็ก ๆ หมอจึงไม่นิยมคิดเงิน ผู้ปกครองบางคนเกรงใจก็จะวางเงินไว้ให้ จนกลายเป็นกำหนดราคาค่ากวาดยาไปก็มี แต่ก็ถูกมาก ในปัจจุบันนี้นิยมวางเงินไว้ให้ 5 บาท
เวลากวาดยาจะกวาดเวลาใดก็ได้ แต่นิยมกันมากคือ กวาดยาในเวลาเย็น ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป และจะกวาดยาคนละ 1 ครั้ง ต่อวัน
ผลกระทบต่อชุมชน
ในสมัยก่อนที่การสาธารณสุขของเรายังไม่เจริญ หมอโบราณคือที่พึ่งของชาวบ้านได้อย่างดียิ่ง และแม้ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุข ของเราค่อนข้างเจริญ มีโรงพยาบาลทุกอำเภอ มีสถานีอนามัยทุกตำบลแล้วก็ตาม แต่จากกิตติศัพท์และการรักษาที่ได้ผล จึงทำให้ประชาชน ส่วนหนึ่งยังคงมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในวิธีการรักษาโดยการกวาดยา เด็กบางคนเมื่อรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันที่มีชื่อเสียงก็ไม่หายจาก อาการป่วย แต่กลับมาหายด้วยการกวาดยาเพียงครั้งเดียว ซึ่งคงจะตรงกับคำกล่าวที่ว่า "ลางเนื้อชอบลางยา" ก็เป็นได้ หมดโบราณคนนั้นคือ นายประมวล หาญพล อยู่บ้านเลขที่ 55 ถนนสายตราด-แหลมศอก ตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดตราด หรือที่รู้จักกันดีว่า "หมอเปีย" และหมอเปียคนนี้ ยังคงกวาดยาให้เด็ก ๆ ทุกวัน วันละประมาณ 20 คน เป็นประจำ
ผู้ให้ข้อมูล นายประมวล หาญพล และนายสมบูรณ์ ปานนิล
ผู้เก็บข้อมูล นางเพ็ญจันทร์ ประทุมวงษ์ และนายสุริยะ มีความดี
วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551
ในหลวงกับเทคโนโลยี
1. พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : 2530)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล
ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ
ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ
นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน
นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
2. พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส. ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์
พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน
นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10.30-12.00 และ 16.00-19.00 วันอาทิตย์ เวลา 9.00-12.00 หยุดทุกวันจันทร์
3. พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม
ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการสนองพระราชดำริ ในเรื่องของการศึกษา คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นผู้สนองพระราชภารกิจที่โรงเรียนไกลกังวล หัวหิน ซึ่งขณะนี้ได้พยายามที่จะนำเอาดาวเทียมไทยคม เข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าว เป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไทยคมอย่างแท้จริง
กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริ ให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง เป็นกระบวนการส่งหรือ ถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะจากบุคคลหนื่ง เรียกว่าผู้ส่งไปยังผู้รับ
3. Sender Message Channel Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานต้องมี สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ สีแดง เหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อยๆ มารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น ประโยค หรือสีเส้นของรูปร่าง รูปทรง ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งองค์ประกอบโครงสร้างก็จะเปลี่ยนด้วย มาก >กาม ยาก> กาย
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง ข้อมูลนั้นเป็น
เรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร จะวางแผนในการเข้ารหัสและจัดส่งอย่างไร แต่ละแนวทางอาจได้ผลที่แตกต่างกัน
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะ
สามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมี ประสิทธิภาพซึ่งผู้ส่งแต่ละคนจะมีวิธีการหรือเทคนิคเฉพาะตัว บางที่เรียกว่า Style ในการสื่อความหมาย
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ เช่น
ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยา ท่าทาง ผู้ส่งสารจำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะใช้รหัสแบบใดจึงบรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุด
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์
แสงแดด ฝนสาด
11.อุปสรรคหรืสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความ
วิตกกังวล
12. Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง ผู้รับขาดความสามารถในการถอดรหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการาเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
ครู เนื้อหา.หลักสูตร สื่อหรือช่องทาง นักเรียน
(Source) (Message) (Channel) (Receiver)
ผลย้อนกลับ
1.ครูในฐานะเป็นผู้ส่งและกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน ครูจึงควรมีพฤติกรรมดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้อื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหา หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และ ประสบการณ์เป็น สิ่งสำคัญที่ครูจะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ดังนั้น เนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 หมาะสมกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสิ่งต่างๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางหรือพาหนะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู้ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อควรเป็นดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายดี
4. นักเรียนหรือผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจึงควรมีลักษณะดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่งคง
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2.ครูผู้สอนไม่คำนึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่หรือเลือกใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน
----------------------------------------------
2. การสื่อความหมาย หมายถึง เป็นกระบวนการส่งหรือ ถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะจากบุคคลหนื่ง เรียกว่าผู้ส่งไปยังผู้รับ
3. Sender Message Channel Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานต้องมี สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ สีแดง เหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อยๆ มารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น ประโยค หรือสีเส้นของรูปร่าง รูปทรง ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งองค์ประกอบโครงสร้างก็จะเปลี่ยนด้วย มาก >กาม ยาก> กาย
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง ข้อมูลนั้นเป็น
เรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร จะวางแผนในการเข้ารหัสและจัดส่งอย่างไร แต่ละแนวทางอาจได้ผลที่แตกต่างกัน
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะ
สามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมี ประสิทธิภาพซึ่งผู้ส่งแต่ละคนจะมีวิธีการหรือเทคนิคเฉพาะตัว บางที่เรียกว่า Style ในการสื่อความหมาย
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ เช่น
ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยา ท่าทาง ผู้ส่งสารจำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะใช้รหัสแบบใดจึงบรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุด
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์
แสงแดด ฝนสาด
11.อุปสรรคหรืสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความ
วิตกกังวล
12. Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง ผู้รับขาดความสามารถในการถอดรหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการาเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
ครู เนื้อหา.หลักสูตร สื่อหรือช่องทาง นักเรียน
(Source) (Message) (Channel) (Receiver)
ผลย้อนกลับ
1.ครูในฐานะเป็นผู้ส่งและกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน ครูจึงควรมีพฤติกรรมดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้อื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหา หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และ ประสบการณ์เป็น สิ่งสำคัญที่ครูจะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ดังนั้น เนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 หมาะสมกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสิ่งต่างๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางหรือพาหนะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู้ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อควรเป็นดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายดี
4. นักเรียนหรือผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจึงควรมีลักษณะดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่งคง
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2.ครูผู้สอนไม่คำนึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่หรือเลือกใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน
----------------------------------------------
วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
น้ำมันมะพร้าว (สกัดเย็น) นวัตกรรมธุรกิจร้อยล้าน
น้ำมันมะพร้าว 'สกัดเย็น' นวัตกรรมธุรกิจร้อยล้าน
Source - กรุงเทพธุรกิจบิสวีค (Th)
Monday, June 20, 2005 07:35
41307 XTHAI XECON XCORP V%PAPERL P%BIZW
น้ำมันมะพร้าว 'สกัดเย็น' นวัตกรรมธุรกิจร้อยล้าน
กมลวรรณ มักการุณ
kamolwan @ nationgroup.com
ผู้ประกอบการไทยที่ปิ๊งไอเดียในการผลิต 'น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์' ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และยังคงความบริสุทธิ์ไว้ได้ 100% ด้วยวิธีการ 'สกัดเย็น' นวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากงานวิจัย...
รู้หรือไม่ว่า 'น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์' คือส่วนผสมสำคัญในเครื่องสำอางหลายชนิดที่คุณผู้หญิงแทบทุกคนใช้กันอยู่...ไม่ว่าจะเป็นครีมกันแดด หรือครีมประทินผิวอีกนานาชนิด นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคบางชนิดด้วย
น้ำมันมะพร้าวจึงเป็นสินค้าที่แพงเอาการ ราคากิโลละหลายร้อยบาท...โดยเฉพาะหากเป็นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศอย่างในแถบฮาวายหรือฟิลิปปินส์ ราคาก็จะยิ่งแพงขึ้นไปอีก
สำหรับขั้นตอนในการสกัดน้ำมันมะพร้าวนั้นจะใช้การ 'สกัดร้อน' ซึ่งมีข้อเสียคือมีสารที่เป็นประโยชน์บางตัวต้องถูกทำลายไป รวมทั้งยังมีมลภาวะทางกลิ่นตามมา...
กระทั่งมีผู้ประกอบการไทยที่ปิ๊งไอเดียในการสรรหากระบวนการผลิตใหม่ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากผลงานวิจัย 'การแยกน้ำมันมะพร้าวออกจากน้ำกะทิ' จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนได้รับการสนับสนุนจากโครงการ 'นวัตกรรมดี..ไม่มีดอกเบี้ย' สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
'พงศ์พิศุทธิ์ เกียรติวรางกูล' กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมันมะพร้าวไทย จำกัด ย้อนเรื่องราวให้ฟังก่อนที่เขาจะหันมาหยิบจับ 'มะพร้าว' ให้เกิดเป็นเม็ดเงินงอกเงยเหมือนในทุกวันนี้ว่า ในบ้านเรามีการใช้น้ำมันมะพร้าวกันมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่ยังนั่งขูดกระต่ายกันอยู่ โดยจะนำมะพร้าวที่ได้ไปตากแห้ง บีบออกมาจนได้น้ำมัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ธุรกิจสปา ครีมกันแดด หรือการสกัดยารักษาโรค สบู่ น้ำมันหอมระเหย หรือนำไปทำน้ำมันปรุงอาหาร และนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นทำน้ำยาขัดเคลือบเงาสีรถยนต์ ก็ได้เช่นกัน
'ผมมาเอะใจตรงเครื่องสำอางของแอมเวย์ เพราะดูส่วนผสมแล้วแทบทุกตัวมี Coconut oil เป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นแชมพูสระผม น้ำยาล้างจาน หรือน้ำยาขัดรถ และอีกหลายยี่ห้อก็ใช้น้ำมันมะพร้าว ผมก็เลยเริ่มศึกษาคุณสมบัติว่าทำไมถึงใช้กัน' เขาเล่า
จากนั้นเขาก็เริ่มศึกษาตลาดและความต้องการของผู้บริโภคอย่างจริงจัง รวมถึงการศึกษากระบวนการผลิตว่าวิธีใดดีที่สุดอยู่นานเกือบ 3 ปี จนพบว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการ 'สกัดเย็น'
กระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Extract Virgin Coconut Oil) ด้วยวิธีการสกัดเย็นโดยใช้มะพร้าวสดในรูปของน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งมีการผลิตที่อาศัยกระบวนการทางกลศาสตร์และใช้เทคนิคควบคุมอุณหภูมิเพื่อแยกน้ำมันมะพร้าวออกจากน้ำกะทิ ทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวที่มีคุณภาพดี มีลักษณะใส ไม่มีสี มีกลิ่นหอมของมะพร้าวตามธรรมชาติ มีกรดไขมันอิสระน้อยกว่า 0.1% และมีส่วนประกอบกรดไขมันในอัตราส่วนที่ดีกว่าการสกัดร้อน
เขาบอกว่าที่หยิบงานวิจัยชิ้นนี้มาต่อยอด เพราะเล็งเห็น 'อนาคต' ว่าไปได้ไกล เนื่องจากมีตลาดรออยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก และกำลังหาลู่ทางที่จะส่งออกไปยังประเทศในแถบยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น
'การสกัดในบ้านเราส่วนใหญ่ใช้วิธีการสกัดร้อน ซึ่งการสกัดร้อนจะได้น้ำมันมะพร้าวดิบที่สกปรก และต้องเอามาฟอกใหม่โดยใช้สารเคมี อีกวิธีคือการเอากะทิไปหมัก แล้วแยกเอาไขออกมา ซึ่งถ้าทิ้งไว้นานๆ จะเกิดแบคทีเรียและมีกลิ่น เราเลยหาวิธีสกัดแบบใหม่โดยไปได้ผลงานวิจัยจาก ม.เกษตร ของ ดร.สุกล ดูว่าท่านทำยังไง ก็พบว่าใช้การสกัดเย็น ไม่ใช้ความร้อนเลย
วิธีการคือนำกะทิมาผ่านเข้าเครื่อง แล้วกวนโดนใช้ความเย็นจนออกมาเป็นน้ำมัน แล้วนำไปผ่านเครื่องกรองให้ออกมาใส เอาส่วนที่เป็นเค้กออก เอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำมันที่เรียกว่า Extra Virgin Oil แล้วนำไปผ่านกระบวนการดูดกลิ่นกับความชื้นออก ก็จบกระบวนการ'
เขาตั้งบริษัทน้ำมันมะพร้าวไทยขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียน 6.5 ล้านบาท โดยลงทุนครั้งแรกกับเครื่องจักรประมาณ 10 ล้านบาท (เทียบกับเครื่องจักรจากต่างประเทศที่ราคาประมาณ 30 ล้านบาท) เบ็ดเสร็จลงทุนไปในโรงงานทั้งสิ้นราว 20 ล้านบาท
สำหรับความแตกต่างของการสกัดแบบร้อนและเย็นนั้น เขาบอกว่าการสกัดเย็นนั้น น้ำมันที่ได้จะสะอาดบริสุทธิ์ และไม่ต้องนำไปกลั่น สารบางชนิดที่มีประโยชน์จะยังคงอยู่ นอกจากนี้ยังไม่มีมลภาวะหรือของเสียเกิดขึ้น ส่วนการสกัดร้อนนั้นจะทำให้เกิดกลิ่น
'ที่เราทำก็เป็นการช่วยเหลือชาวสวน ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ปกติน้ำมันมะพร้าวจากฮาวายจะอยู่ที่ลิตรละ 1,500 บาท แต่ของเราขายเพียงลิตรละ 500-600 บาท'
เขาเล่าต่อไปว่า เมื่อทำการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตต่อหน่วยนั้น พบว่าการสกัดเย็นมีต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยเมื่อวัดจากผลผลิต 1 ลิตรเท่ากัน การสกัดร้อนจะมีต้นทุน 145 บาทต่อลิตร แต่การสกัดเย็นจะมีต้นทุนที่ 84 บาทต่อลิตร
โดยกำลังการผลิตอยู่ที่ 120,000 ลิตรต่อเดือน แต่ปัจจุบันผลิตที่ 15,000-30,000 ลิตรต่อเดือน ขึ้นกับออเดอร์จากลูกค้า 'เดือนหน้าเราจะผลิตที่ 2,000 ลิตรต่อชั่วโมง หรือ 120,000 ลิตรต่อเดือน ซึ่งจะต้องใช้มะพร้าวประมาณ 2.4 ล้านลูกต่อเดือน และเราจะทำให้โรงงานเป็นระบบปิดหมดเลย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนเรื่องไฟฟ้าลงได้ เวลานี้ก็พยายามขอ GMP และ ISO 9000 อยู่
แหล่งมะพร้าวของเราเป็นมะพร้าวไทยพันธุ์ต้นสูง แถบแม่กลอง ซึ่งจะได้ลูกมะพร้าวขนาดใหญ่ และมีเนื้อหนา ซึ่งจะทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวเป็นจำนวนมาก โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ลูกละ 5-10 บาท
'พงศ์พิศุทธิ์' เล่าว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ของเขาได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในโครงการ 'นวัตกรรมดี ไม่มีดอกเบี้ย' เนื่องจากสำนักงานฯ เล็งเห็นความเป็นไปได้ทางธุรกิจของโครงการนี้
'เรามีความได้เปรียบในเรื่องวัตถุดิบ เนื่องจากอำเภอบ้านแพ้ว สมุทรสาคร อยู่ในแหล่งวัตถุดิบ และยังสามารถหาวัตถุดิบใกล้เคียงได้อีกพื้นที่ใกล้เคียง เช่นเพชรบุรีและราชบุรี นอกจากนี้กระบวนการผลิตแบบสกัดเย็นยังสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจได้ เช่นนำกะลามะพร้าวไปขายโรงงานถ่านอัดแท่ง นำน้ำมะพร้าวไปทำวุ้นมะพร้าว นำกากมะพร้าวขายโรงงานอาหารสัตว์ และนำโปรตีนขายให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง'
และนั่นทำให้เขาได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานฯ ด้วยการชำระดอกเบี้ยให้แก่ SMEs Bank ที่เขาไปกู้มาในวงเงิน 5.5 ล้านบาท เป็นเวลานานถึง 2 ปี
'ปัจจุบัน SMEs มีการพัฒนาไปมาก มีการสร้างเครือข่าย และยังมีหน่วยงานของรัฐหลายแห่งที่หันมาให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง' เขากล่าว พร้อมกับบอกว่านอกจากสำนักงานนวัตกรรมจะให้การสนับสนุนเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ยังให้การช่วยเหลือในเรื่องของวิชาการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้คำปรึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการช่วยทำการตลาดในบางส่วนอีกด้วย
'สำหรับเรื่องคู่แข่งไม่น่าเป็นห่วง เพราะตลาดกว้าง ตราบใดที่โลกนี้ยังมีผู้หญิง มีเครื่องสำอาง น้ำมันมะพร้าวก็ขายได้ แต่ผมชอบทำอะไรที่ไม่เหมือนคนอื่น และยังไม่มีใครทำ
ต่อไปผมก็จะพัฒนาสินค้าต่อไปอีกเรื่อยๆ อาจจะทำน้ำมันมะพร้าวที่เป็นครีมพร้อมใช้ได้เลย และจะหางานวิจัยใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับมะพร้าวและไม่ทำลายธรรมชาติ' เขาทิ้งท้าย..--จบ--
--กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 17 - 23 มิถุนายน 2548--
ชอบนวัตกรรม น้ำมันมะพร้าว (สกัดเย็น) เป็นนวัตกรรมที่แปลกและไม่เหมือนใครและไม่แข่งกับใคร นวัตกรรมนี้นำวัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติมาดัดแปลงมาเป็นนำมันมะพร้าวได้เหมือนกัน และเอาไปใช้ได้หลายอย่าง โดยที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม และต่อไปเขาก็จะคิดหาวิธีใหม่ๆ มาอีก อาจจะเป็นครีม หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม.
วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ประวัติของฉัน
วันนี้อากาศแจ่มใสทั้งอารมณ์ดีและอยากจะนั่งเขียนอะไรลงใส่กระดาษคือประวัติส่วนตัวของดิฉันเป็นอะไรที่ไม่น่าแปลก จะต้องขอบคุณพ่อกับแม่ที่ให้ดิฉันเกิดมาดิฉันเกิดวันอังคารที่ 16 ตุลาคม 2550 เป็นผู้หญิงคนโต พ่อกับแม่เลยตั้งชื่อกรรณิการ์ หลวงพิทักษ์ พออายุได้ประมาณ 4ขวบก็เข้าอนุบาลที่โรงเรียนวัดดอนตลุง และพอ6 ขวบก็เข้า ป.1 - ป.6 และก็ต่อที่โรงเรียนเดิมเป็นโรงเรียนขยายโอกาส ม.1-ม.3 พอจบมัธยมได้โควต้าไปต่อที่วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม ปวช.1-3 ในขณะที่เรียนอยู่นั้นเรียนอยู่สาขาเคมีสิ่งทอ ในช่วงนั้นเรียนเหนื่อยมาก พอจบ ปวช.แล้ว ก็ไปต่อที่สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เอกบริหารทรัพยากรมนุษย์ 4 ปี เหนื่อยเหมื่อนกันในขณะนั้นเพราะไปต่อบริหาร พื้นฐานในขณะนั้นไม่มีเลยเพราะมีพื้นฐานเคมีมา เรียนปริญาตรี 4 ปีก็จบดิฉันจบ พ.ศ. 2545 และรับปริญาตรี พ.ศ. 2546 พอจบก็ได้หางานทำได้งานที่ ครัวราชพงษ์ ทำหน้าที่แคชเชียร์ ทำงานได้ประมาณ 6 เดือนก็ออกจากงานพอออกก็ได้ไปช่วยแม่ขายของ ประมาณ2 ปี ได้ข่าวว่าแถวๆบ้านมีประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และได้สอบ พอไปฟังผลประกาศสอบรู้ว่าได้อันดับที่ 4 ก็ดีใจเพราะจะได้ทำงานแถวบ้านจะได้ไม่ต้องเปลื้องอะไรมากนัก ทุกวันนี้ถึงแม้จะไม่มีความรู้พื้นฐานด้านปฐมวัยมา ดิฉันจะพยายามทำงานตรงนี้ให้ดีดีสุด และจะทำหน้าที่เป็นครูที่ดีและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ ซึ่งเด็กๆเหล่านี้จะเป็นอนาคตของชาติต่อไปในอนาคตที่ดี.
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเพิ่มประสิทธิภาพการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมร่วมอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร วิธีพิจารณาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนแบบง่าย ๆ ก็คือดูว่า หากผู้เรียนและผู้สอนใช้เวลาและความพยายามพอสมควรและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มาก เราถือว่าประสิทธิภาพในการสอนดี เพราะลงทุนน้อยได้กำไรมาก แต่ในทางกลับกัน ถ้าทั้งผู้เรียนและ ผู้สอนได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง มีความเหนื่อยยากแสนสาหัส และใช้เวลาเพื่อการนี้เป็นจำนวนมากจนไม่มีเวลาที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มนุษย์ปกติเขาทำกัน แต่ผลที่ได้ออกมามันไม่มากเหมือนที่ได้ตั้งใจร่วมกันเอาไว้ กล่าวคือ คนเรียนสอบตกมากกว่าสอบได้ และพวกที่สอบได้ก็สอบได้แบบรอดตายหวุดหวิดเสียเป็นส่วนใหญ่ เป็นผลให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนมีความบอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นอย่างมาก ในกรณีเช่นนี้เราจะถือเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากถือว่าประสิทธิภาพของการเรียนการสอนต่ำเป็นการลงทุนมากแต่ได้กำไรน้อย และเมื่อพบว่าประสิทธิภาพของการเรียนการสอนน้อยหรือต่ำ เราควรจะ ทำอะไรต่อไปดี ประสิทธิภาพการสอนเป็นเรื่องใหญ่ของสถาบันการศึกษา เป็นหัวใจของสถาบันการศึกษา เป็นเรื่องของหุ้นส่วนระหว่าง ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน ที่ถือหุ้นเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน เมื่อพบว่าสถาบันการศึกษาใดมีประสิทธิภาพของการสอนต่ำ ย่อมสรุปได้ว่าอาจมีเหตุปัจจัยมาจากผู้ถือหุ้นเหล่านั้น จะเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายร่วมกันก็อาจเป็นได้ การวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอนต้องวิเคราะห์หุ้นส่วนทั้งหมด เมื่อพบว่ามีความบกพร่องที่ใด ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงตรงปัจจัยนั้น ๆ พระท่านสอนว่า ทุกข์ย่อมเกิดจากเหตุ ในเมื่อเหตุนั้นอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ก็ควรอย่างยิ่งที่จะวิเคราะห์ให้ครบทุกปัจจัย หากยังขืนเลือกไม่วิเคราะห์บางปัจจัย เพราะไม่กล้าวิเคราะห์ เราก็อาจจะเกาไม่ถูกที่คัน คงจะต้องเกาตรงบริเวณที่ไม่คันกันจนเลือดไหล และยังคงคันหรือเป็นทุกข์ตลอดไป
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่
ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก
http://www.sut.ac.th/tedul Article/Teaching2.htm
http://dusithost.dusit.ac.th/~libraianlit107/c1.htm/
แสดงความคิดเห็น -
เทคโนโลยีมีความจำเป็นในการสอนมากในการสอนในบางครั้งก็ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยสอนได้หาความรู้ประสบการณ์เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการกระบวนจัดหา จัดเก็บสร้าง เผยแพร่ การศึกษาเทคโนโลยีก็ช่วยสืบหาข้อมูลได้สะดวกได้หาความรู้ใหม่ๆมากขึ้นและจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)